นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่น
บทนำ
บริษัท สกาย ทาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) (“บริษัท”) และบริษัทในเครือ ยึดมั่นที่จะดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ โปร่งใสและเป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี บริษัทต่อต้านการทุจริตให้สินบนและคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบด้วยตระหนักดีว่า การทุจริตให้สินบนและการคอร์รัปชั่นนั้นเป็นภัยร้ายแรงที่ทำลายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม รวมทั้งก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
คณะกรรมการบริษัทให้ความสำคัญในการกำกับดูแลกิจการภายในกรอบของการมีจริยธรรมที่ดีสร้างความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และเป็นธรรมกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ตลอดจนให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ โดยยึดหลักเป็นวัฒนธรรมและค่านิยมหนึ่งในองค์กร
บริษัทได้เข้าร่วมลงนามในคำประกาศเจตนารมณ์“แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต”โดยจะร่วมมือกับภาคประชาสังคม สื่อมวลชน และองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อสร้างมาตรฐานการประกอบธุรกิจที่ใสสะอาด
วัตถุประสงค์
- เพื่อแสดงออกถึงจุดยืนของบริษัทในการต่อต้านการทุจริตให้สินบนและการคอร์รัปชั่นอย่างสิ้นเชิง
- เพื่อกำหนดเกณฑ์และแนวปฏิบัติป้องกันมิให้บริษัทและพนักงานฝ่าฝืนกฎหมายต่อต้านการทุจริตให้สินบนและการคอร์รัปชั่น
- เพื่อกำหนดขั้นตอนการสอบทานและกำกับติดตามให้มั่นใจว่ามีการปฏิบัติตามนโยบายฉบับนี้
- เพื่อสนับสนุนให้พนักงานเฝ้าระวังและรายงานการพบเห็นการทุจริตให้สินบนหรือคอร์รัปชั่น ผ่านช่องทางการสื่อสารที่ปลอดภัย
ขอบเขต
นโยบายฉบับนี้บังคับใช้กับ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน (รวมเรียกว่า “พนักงาน”) ของบริษัท
บริษัทคาดหวังให้ตัวแทนและตัวกลางทางธุรกิจอื่นๆที่มีความเกี่ยวข้องหรือกระทำการในนามบริษัทปฏิบัติตามนโยบายนี้
หน้าที่และความรับผิดชอบ
“คอร์รัปชั่น” หมายถึง การให้และ/หรือรับสินบนไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใดๆ โดยการเสนอให้ สัญญาว่าจะให้ มอบให้ ให้คำมั่นว่าจะให้ เรียกร้อง รับ หรือยอมจะรับซึ่งเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด หรือการเอื้อประโยชน์อื่นใดกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานของเอกชน หรือผู้มีหน้าที่ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อให้ หรือจูงใจให้บุคคลดังกล่าวกระทำ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ อันเป็นการให้ได้มาหรือรักษาไว้ซึ่งธุรกิจ หรือแนะนำธุรกิจให้กับบริษัทโดยเฉพาะ หรือเพื่อให้ได้มาหรือรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์อื่นใดที่ไม่เหมาะสมทางธุรกิจ หรือเพื่อประโยชน์ส่วนตน ครอบครัว เพื่อน คนรู้จัก หรือบุคคลใกล้ชิด หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
“ทุจริต” หมายถึง การแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยหน้าที่หรือด้วยกฎหมาย ของกรรมการและพนักงาน ทั้งของบริษัท ของลูกค้า และของคู่ค้า หรือคู่สัญญาของบริษัท อาทิ การทำหลักฐานการเงินเป็นเท็จ การนำทรัพย์สินของบริษัทไปใช้ส่วนตัว การเบียดบัง การยักยอก ฉ้อโกง การกระทำในลักษณะ
ที่มีการขัดกันของผลประโยชน์
การให้หรือรับสินบนและการคอร์รัปชั่น อาจกระทำได้หลายรูปแบบ เช่น
- การช่วยเหลือทางการเมือง
- การบริจาคเพื่อการกุศล
- การให้เงินสนับสนุน
- ค่าของขวัญ ค่าบริการต้อนรับ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ
นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่น
บททั่วไป
บริษัทมีนโยบายต่อต้านการให้สินบนและการคอร์รัปชั่นอย่างสิ้นเชิง (Zero-Tolerance Policy) และถือปฏิบัติตามกฎหมายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการให้สินบนและการคอร์รัปชั่นในประเทศไทย
บริษัทจะไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในการให้สินบนและการคอร์รัปชั่นทั้งทางตรงและทางอ้อมและมุ่งมั่นที่จะนำระบบที่มีประสิทธิผลมาใช้ในการต่อต้านการให้สินบนและการคอร์รัปชั่น
พนักงานของบริษัทต้องไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในการคอร์รัปชั่นการให้/รับสินบนแก่/จากเจ้าหน้าที่ของรัฐและเอกชน เช่น บุคลากรของบริษัทต่างๆที่มีธุรกรรมร่วมกับบริษัท ทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อให้ได้มาหรือคงไว้ซึ่งธุรกิจหรือข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน
การช่วยเหลือทางการเมือง
บริษัทไม่ให้การสนับสนุนทางการเงิน สิ่งของ และ/หรือการเข้าร่วมกิจกรรม ตลอดจนการส่งเสริมให้พนักงานเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองในนามของบริษัทเพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบทางธุรกิจการค้า ทั้งนี้ไม่รวมถึงการที่พนักงานเข้าร่วมกิจกรรมตามสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล บริษัทมีนโยบาย ดำเนินธุรกิจอย่างเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ทางการเมืองหรือนักการเมืองมืออาชีพที่สังกัดพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่ง และจะไม่นำเงินทุนหรือความช่วยเหลือในรูปแบบอื่นใดไปเพื่อเป็นการช่วยเหลือทางการเมืองตามความ หมายในข้างต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจ
การบริจาคเพื่อการกุศล
ต้องพิสูจน์ได้ว่า มีกิจกรรมตามโครงการเพื่อการกุศลดังกล่าวจริง และมีการดำเนินการเพื่อสนับสนุนให้วัตถุประสงค์ของโครงการประสบผลสำเร็จ และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมอย่างแท้จริง
ต้องพิสูจน์ได้ว่า การบริจาคเพื่อการกุศลดังกล่าวไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ต่างตอบแทนให้กับบุคคลใดหรือหน่วยงานใด ยกเว้นการประกาศเกียรติคุณตามธรรมเนียมปฏิบัติทั่วไป เช่น การติดตราสัญลักษณ์ (Logo) การประกาศรายชื่อ ณ สถานที่จัดงานหรือในสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์อื่น เป็นต้น
ในการบริจาคเพื่อการกุศล จะต้องจัดทำแบบคำขอการบริจาคเพื่อการกุศล การให้เงินสนับสนุน และการให้อื่นๆ (เอกสารแนบ 1) โดยระบุชื่อผู้รับบริจาค
และวัตถุประสงค์ของการบริจาคพร้อมแนบเอกสารประกอบทั้งหมดเสนอให้ผู้มีอำนาจอนุมัติของบริษัทพิจารณาอนุมัติตามระดับอำนาจอนุมัติของบริษัท
ต้องติดตามขอหนังสือขอบคุณ หรือ ใบอนุโมทนาบัตร หรือ ใบเสร็จรับเงิน เพื่อส่งมอบให้ฝ่ายบัญชีและการเงิน
การให้เงินสนับสนุน
ต้องพิสูจน์ได้ว่า ผู้ขอเงินสนับสนุนได้ทำกิจกรรมตามโครงการดังกล่าวจริง และเป็นการดำเนินการเพื่อสนับสนุนให้วัตถุประสงค์ของโครงการ ประสบผลสำเร็จ และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมอย่างแท้จริง
ต้องพิสูจน์ได้ว่า การให้เงินสนับสนุนหรือประโยชน์อื่นใดที่สามารถคำนวณเป็นตัวเงินได้เช่น การให้ที่พักและอาหาร เป็นต้น ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง กับผลประโยชน์ต่างตอบแทนให้กับบุคคลใด หรือหน่วยงานใด ยกเว้นการประกาศเกียรติคุณตามธรรมเนียมธุรกิจทั่วไป
ในการให้เงินสนับสนุน จะต้องจัดทำแบบคำขอการบริจาคเพื่อการกุศล การให้เงินสนับสนุน และการให้อื่นๆ (เอกสารแนบ 1) โดยระบุชื่อผู้รับการสนับสนุนและวัตถุประสงค์ของการสนับสนุนพร้อมแนบเอกสารประกอบทั้งหมดเสนอให้ผู้มีอำนาจอนุมัติของบริษัทพิจารณาอนุมัติตามระดับอำนาจอนุมัติของบริษัท
ต้องติดตามขอหนังสือขอบคุณ หรือ ใบเสร็จรับเงิน หรือ ภาพถ่ายกิจกรรม เพื่อส่งมอบให้ฝ่ายบัญชีและการเงิน
การรับและให้ของขวัญ ค่ารับรอง ค่าบริการต่างๆ หรือประโยชน์อื่นใด
บริษัทตระหนักดีว่าการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับพันธมิตรทางธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำมาซึ่งความสำเร็จอย่างต่อเนื่องของบริษัท
พนักงานสามารถให้/รับของขวัญแก่/จากบุคคลใดๆได้ หากเข้าเงื่อนไขทุกข้อดังต่อไปนี้
- ไม่เป็นการกระทำโดยตั้งใจเพื่อครอบงำ ชักนำ หรือ ตอบแทนบุคคลใดๆเพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบใดๆผ่านการกระทำที่ไม่เหมาะสม หรือเป็นการแลกเปลี่ยนอย่างชัดเจนหรือแอบแฝงเพื่อให้ได้มาซึ่งการช่วยเหลือหรือผลประโยชน์
- เป็นการให้ในนามบริษัท ไม่ใช่ในนามของพนักงาน
- ไม่เป็นของขวัญที่อยู่ในรูปของเงินสดหรือสิ่งเทียบเท่าเงินสด (เช่น บัตรของขวัญหรือบัตรกำนัล)
- เหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น การให้ของขวัญเล็กๆ น้อยๆ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ตรุษจีน หรือปีใหม่ ซึ่งถือเป็นธรรมเนียมปกติ
- เป็นการให้เปิดเผย ไม่ปกปิด
- การเลี้ยงรับรองทางธุรกิจ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามสัญญาทางธุรกิจสามารถกระทำได้ แต่ต้องใช้จ่ายอย่างสมเหตุสมผล สามารถตรวจสอบได้และปฏิบัติตามขั้นตอนตามข้อกำหนดค่าใช้จ่ายในการทำงาน
- พนักงานสามารถรับของขวัญซึ่งมีมูลค่าได้ไม่เกิน 5,000 บาท ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิเสธและจะต้องรับของขวัญซึ่งมีมูลค่าเกินกว่า 5,000 บาท ต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบ โดยใช้แบบรายงานการรับของขวัญ (เอกสารแนบ 2) และนำส่งของขวัญดังกล่าวแก่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล เพื่อนำไปเป็นของรางวัลให้แก่พนักงานหรือบริจาคเพื่อการกุศลตามความเหมาะสม
บริษัทและบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องทางธุรกิจ
- บริษัทย่อยและบริษัทในเครือที่บริษัทมีอำนาจในการควบคุม
บริษัทจะแจ้งและให้การสนับสนุนให้บริษัทย่อยและบริษัทในเครือที่บริษัทมีอำนาจในการควบคุมปฏิบัติตามนโยบายการต่อต้านการให้สินบน และการคอร์รัปชั่น - ตัวแทนและตัวกลางทางธุรกิจ
ห้ามพนักงานว่าจ้างตัวแทนหรือตัวกลางทางธุรกิจใดๆโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระทำการให้สินบนหรือการคอร์รัปชั่น - ผู้จัดจำหน่ายสินค้า/ให้บริการและผู้รับเหมา
บริษัทจะจัดให้มีการจัดซื้อจัดหาสินค้า/บริการด้วยความเป็นธรรมและโปร่งใส รวมทั้งจะดำเนินการประเมินเพื่อคัดเลือกผู้จัดจำหน่ายสินค้า/ให้บริการและผู้รับเหมาด้วยความรอบคอบ ทั้งนี้ บริษัทจะแจ้งให้ผู้จัดจำหน่ายสินค้า/ให้บริการและผู้รับเหมารับทราบนโยบายฉบับนี้ และบริษัทสงวนสิทธิ์
ที่จะบอกยกเลิกการจัดซื้อและว่าจ้างหากพบว่าผู้จัดจำหน่ายสินค้า/ให้บริการและผู้รับเหมากระทำการคอร์รัปชั่นหรือให้สินบน
การประเมินความเสี่ยงของการคอร์รัปชั่น
การประเมินความเสี่ยงถือเป็นรากฐานของมาตรการต่อต้านการทุจริตให้สินบนและการคอร์รัปชั่น ดังนั้น ผู้บริหารทุกคนจะต้องมีความเข้าใจว่ากระบวนการทางธุรกิจของบริษัทมีความเสี่ยงจากการให้สินบนและการคอร์รัปชั่นได้อย่างไร เพื่อจัดการความเสี่ยงดังกล่าว
ฝ่ายบริหารจะต้องประเมินความเสี่ยงจากการทุจริตให้สินบนและการคอร์รัปชั่นที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ (อย่างน้อยปีละครั้ง) รวมทั้งทบทวนมาตรการจัดการความเสี่ยงที่ใช้อยู่ให้มีความเหมาะสมที่จะป้องกันความเสี่ยงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้
การควบคุม
บริษัทจัดให้มีการควบคุมภายในที่เหมาะสม สม่ำเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้พนักงานมีการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม
ระบบการควบคุมทั่วองค์กร ประกอบด้วย จรรยาบรรณทางธุรกิจ นโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น การสอบทานของฝ่ายตรวจสอบภายในนโยบายการบริหารงานบุคคลตั้งแต่การว่าจ้าง การกำหนดค่าตอบแทนและการลงโทษทางวินัย การบันทึกและรายงานข้อมูลทางบัญชีและการเงินอย่างถูกต้อง และเป็นจริง
การบันทึกและเก็บรักษาข้อมูล
บริษัทมีนโยบายที่จะปฏิบัติตามมาตรฐาน หลักการ รวมทั้งกฎหมายที่บังคับใช้เกี่ยวกับการรายงานข้อมูลทางบัญชีและการเงิน
ค่าใช้จ่ายทุกประเภทจะต้องมีเอกสารประกอบ รวมทั้งการจัดเก็บรักษาข้อมูลของบริษัทจะต้องเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
บริษัทไม่อนุญาตให้มีการบันทึกข้อมูลที่เป็นเท็จ ผิดหลักการ ไม่สมบูรณ์ ไม่ถูกต้อง หรือทำการตกแต่งบัญชี รวมทั้งจะต้องไม่มีบัญชีนอกงบการเงินเพื่อใช้สนับสนุนหรือปกปิดการจ่ายเงินที่ไม่เหมาะสม
ทรัพยากรบุคคล
การอบรมและการสื่อสาร
พนักงานทุกคนจะได้รับการอบรมเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตให้สินบนและการคอร์รัปชั่นอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ตระหนักถึงนโยบายฉบับนี้ โดยเฉพาะ รูปแบบต่างๆของการทุจริตให้สินบน ความเสี่ยงจากการเข้าไปมีส่วนร่วมในการให้สินบน ตลอดจนวิธีการรายงานกรณีพบเห็นหรือสงสัยว่ามีการให้สินบนหรือคอร์รัปชั่น
พนักงานทุกคนจะได้รับสำเนานโยบายฉบับนี้ เพื่อช่วยให้มั่นใจว่าได้รับทราบและเข้าใจถึงนโยบายของบริษัทในการต่อต้านการทุจริตให้สินบนและ การคอร์รัปชั่น นอกจากนี้ ยังสามารถหาอ่านนโยบายรวมทั้งข้อมูลล่าสุดที่ปรับปรุงแก้ไขได้จากเว็บไซต์ของบริษัท www.skytower.co.th บริษัทจะแจ้งให้พนักงานทราบหากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่สำคัญ
การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับนโยบายฉบับนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งของการปฐมนิเทศหรือก่อนการเข้ารับตำแหน่งของพนักงานใหม่ทุกคนของบริษัท
กรณีมีข้อสงสัย
หากพนักงานคนใดเกิดความไม่มั่นใจว่าการกระทำใด อาจเข้าลักษณะเป็นการทุจริตให้สินบนหรือการคอร์รัปชั่น หรือในกรณีที่มีคำถามหรือข้อสงสัย พนักงานควรปรึกษากับผู้บังคับบัญชาโดยตรง
การรายงานการพบเห็นการทุจริตให้สินบนและการคอร์รัปชั่น
การปกป้องดูแลพนักงาน
หากพนักงานเชื่อว่าตนเองถูกข่มขู่ คุกคาม หรือหน่วงเหนี่ยว ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาโดยตรง หรือหัวหน้าฝ่ายทรัพยากรบุคคลโดยทันที และหากว่า ยังไม่ได้รับการแก้ไข ให้รายงานผ่านช่องทางการแจ้งเบาะแสของบริษัท
การฝ่าฝืนนโยบาย
การกำกับติดตามและสอบทาน
ขอบเขตการร้องเรียนและแจ้งเบาะแสการทุจริตคอร์รัปชั่น
เมื่อมีข้อสงสัยหรือพบเห็นการกระทำที่ฝ่าฝืน หลักปฏิบัติที่ดีในเรื่องต่อไปนี้
- การกระทำที่ทุจริตที่เกี่ยวข้องกับองค์กร โดยทางตรง หรือทางอ้อม เช่น พบเห็นบุคคลในองค์กร ติดสินบน/รับสินบน เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานเอกชน
- การกระทำที่ผิดขั้นตอนตามกฎระเบียบ ข้อบังคับของบริษัท จนทำให้สงสัยว่า อาจจะเป็นช่องทางในการทุจริต
- การกระทำที่ทำให้บริษัทเสียผลประโยชน์ กระทบต่อชื่อเสียงของบริษัท
- การกระทำที่ผิดกฎหมาย ผิดศีลธรรม และจรรยาบรรณทางธุรกิจ
- การฝ่าฝืนการปฏิบัติตามหลักการและแนวปฏิบัติของนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี
- การได้รับความไม่เป็นธรรมในการปฏิบัติงาน
ช่องทางการรับแจ้งเบาะแส หรือร้องเรียนการทุจริตคอร์รัปชั่น
เมื่อมีข้อสงสัยหรือพบเห็นการกระทำที่ฝ่าฝืน หลักปฏิบัติที่ดีในเรื่องต่อไปนี้
- การกระทำที่ทุจริตที่เกี่ยวข้องกับองค์กร โดยทางตรง หรือทางอ้อม เช่น พบเห็นบุคคลในองค์กร ติดสินบน/รับสินบน เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานเอกชน
- การกระทำที่ผิดขั้นตอนตามกฎระเบียบ ข้อบังคับของบริษัท จนทำให้สงสัยว่า อาจจะเป็นช่องทางในการทุจริต
- การกระทำที่ทำให้บริษัทเสียผลประโยชน์ กระทบต่อชื่อเสียงของบริษัท
- การกระทำที่ผิดกฎหมาย ผิดศีลธรรม และจรรยาบรรณทางธุรกิจ
- การฝ่าฝืนการปฏิบัติตามหลักการและแนวปฏิบัติของนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี
- การได้รับความไม่เป็นธรรมในการปฏิบัติงาน
ช่องทางการรับแจ้งเบาะแส หรือร้องเรียนการทุจริตคอร์รัปชั่น
คณะกรรมการบริษัทได้มอบหมายให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ/หรือ เลขานุการบริษัท เป็นผู้พิจารณารับเรื่องแจ้งเบาะแส ข้อร้องเรียนการกระทำที่อาจทำให้เกิดความสงสัยได้ว่า เป็นการทุจริตคอรัปชั่นที่เกิดขึ้นกับบริษัทโดยทางตรง หรือทางอ้อม โดยผ่านช่องทางการรับเรื่องที่กำหนดไว้ในนโยบายฉบับนี
โดยผู้ร้องเรียนจะต้องระบุรายละเอียดของเรื่องที่จะแจ้งเบาะแส หรือข้อร้องเรียน พร้อมชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ ส่งมายังช่องทางรับเรื่อง ดังนี้
1. แจ้งผ่านช่องทาง อีเมล์ของ
- ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ที่ theerachai@skytower.co.th
- เลขานุการบริษัท ที่ onchulee.l@skytower.co.th
- ประธานกรรมการตรวจสอบ ที่
- กรรมการตรวจสอบ ที่ nathee@cmuic.net
- กรรมการตรวจสอบ ที่ pianchai@pctb.co.th
- ฝ่ายตรวจสอบภายใน ที่ audit_ewc@hotmail.com
2. ส่งไปรษณีย์ปิดผนึก มายัง
- คุณธีรชัย ลีนะบรรจง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
- คุณอรชุลี หล่อสมิทธิกุล เลขานุการบริษัท
- ประธานกรรมการตรวจสอบ
- ดร.นที นาคธนสุกาญจน์ กรรมการตรวจสอบ
- คุณเพียรชัย ถาวรรัตน์ กรรมการตรวจสอบ
- คุณคมวุฒิ พรนราดล ฝ่ายตรวจสอบภายใน
บริษัท สกาย ทาวเวอร์ จำกัด (มหาชน)
247 ถนนร่มเกล้า แขวงแสนแสบ เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร 10510
มาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียน หรือผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตคอร์รัปชั่นและการรักษาความลับ
ผู้ได้รับข้อมูลจากการปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องร้องเรียน มีหน้าที่เก็บรักษาข้อมูล ข้อร้องเรียนและเอกสารหลักฐานของผู้ร้องเรียนและผู้ให้ข้อมู ลไว้เป็นความลับ ห้ามเปิดเผยข้อมูลแก่บุคคลอื่นที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง เว้นแต่เป็นการเปิดเผยตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด
บริษัทจะเปิดเผยข้อมูลเท่าที่จำเป็น โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและความเสียหายของผู้รายงานแหล่งที่มาของข้อมูล หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง
ผู้ที่ได้รับความเสียหายจะได้รับการบรรเทาความเสียหายด้วยกระบวนการที่มีความเหมาะสมและเป็นธรรม
การแจ้งเบาะแสข้อร้องเรียน การดำเนินการสืบสวนและบทลงโทษ
กระบวนการแจ้งเบาะแสข้อร้องเรียน
Website ของบริษัท จรรยาบรรณทางธุรกิจ แหล่งที่มาของเบาะแส หรือ ข้อร้องเรียน ร้องเรียนผ่านประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ/หรือ กรรมการผู้จัดการ และ/หรือ เลขานุการบริษัท ผ่านทางอีเมล์ หรือจดหมาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ/หรือ กรรมการผู้จัดการ และ/หรือ เลขานุการบริษัท ตรวจสอบ
และนำขอร้องเรียนหารือร่วมกัน เพื่อดำเนินการต่อไป ภายใน 5 วัน ทำการแจ้งคณะกรรมการบริหารรับทราบในการประชุมคณะกรรมการบริหารครั้งถัดไป รายงานคณะกรรมการบริษัท เพื่อรับทราบผลการดำเนินงานในการประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งถัดไป
ในกรณีที่มีประเด็นเรื่องการทุจริตและคอร์รัปชั่นที่ต้องรายงานประเด็นที่พบอย่างเร่งด่วน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ/หรือ กรรมการผู้จัดการ
จะดำเนินการแจ้งขอร้องเรียนทางอีเมล์ต่อคณะกรรมการบริษัททุกท่าน เพื่อปรึกษาหารือในเบื้องต้นอย่างเร่งด่วน ในการดำเนินการจัดการหาข้อสรุป
กับประเด็นที่พบ
หากสืบสวนข้อเท็จจริงแล้วพบว่า ข้อมูลหรือหลักฐานที่มี มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าผู้ที่ถูกกล่าวหาได้กระทำการคอร์รัปชั่น หรือทุจริตจริง บริษัทจะให้สิทธิ
ผู้ถูกกล่าวหา ได้รับทราบข้อกล่าวหา และให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหา พิสูจน์ตนเอง โดยการหาข้อมูลหรือหลักฐานเพิ่มเติมที่แสดงให้เห็นว่าตนเองไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำอันทุจริต ตามที่ได้ถูกกล่าวหา
หากผู้ถูกร้องเรียน ได้กระทำการทุจริตจริง การทุจริตนั้นถือว่าเป็นการกระทำผิดนโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น จะต้องได้รับการพิจารณา
โทษทางวินัย ตามระเบียบที่บริษัทกำหนดไว้ และหากการกระทำทุจริตนั้นผิดกฎหมาย ผู้กระทำความผิดอาจจะต้องได้รับโทษทางกฎหมาย ทั้งนี้โทษ
ทางวินัยตามระเบียบของบริษัท คำตัดสินของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ/หรือ กรรมการผู้จัดการถือว่าเป็นที่สิ้นสุด
การเผยแพร่นโยบายการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น
เพื่อให้ทุกคนในองค์กรได้รับทราบนโยบายการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น บริษัทจะดำเนินการดังต่อไปนี้
- บริษัทจะติดประกาศนโยบายการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น ณ กระดานประชาสัมพันธ์ของบริษัททุกแห่ง
- บริษัทจะเผยแพร่นโยบายการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น ผ่านช่องทางการสื่อสารของบริษัท เช่น จดหมาย-อิเล็คทรอนิกส์ (e-mail) เว็บไซต์บริษัท รายงานการเปิดเผยข้อมูลประจำปี (56-1) รายงานประจำปี (56-2) และแผ่นพับ เป็นต้น
- บริษัทจะจัดให้มีการอบรมนโยบายการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น ให้แก่พนักงานใหม่ และบรรจุลงในคู่มือพนักงาน
- บริษัทจะทบทวนนโยบายการต่อต้านทุจริตและคอร์รัปชั่นทุกปี
*** ทั้งนี้ให้มีผลตั้งแต่ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2560 เป็นต้นไป

Collective Action Coalition of the Private Sector Against Corruption